ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
ประวัติการจัดตั้ง "โรงเรียนจ่าอากาศ"
โรงเรียนจ่าอากาศ เป็นสถาบันการศึกษาหลักขั้นต้นของกองทัพอากาศที่ผลิต นายทหารประทวนให้กับส่วนราชการต่างๆ ของกองทัพอากาศ และนอกกองทัพอากาศที่ฝากผลิตเป็นครั้งคราว ตลอดทั้งให้การศึกษาอบรมข้าราชการกลาโหมพลเรือนต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตรทั้งในและนอกกองทัพอากาศตามแต่กองทัพอากาศจะกำหนด
เดิมกองทัพอากาศ ไม่มีโรงเรียนผลิตนายทหารประทวน ส่วนใหญ่นายทหารประทวน จะได้มาจากทหารกองประจำการ ที่สมัครเข้ารับราชการต่อ แต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศ เมื่อปฏิบัติงานมีความรู้ มีความสามารถ มีความชำนาญงานสูง ก็จะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เลื่อนยศให้สูงขึ้นตามลำดับ จนเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร
ในปี พ.ศ.๒๔๘๑ กองทัพอากาศได้กำหนดให้มี แผนกอาวุธ กองโรงเรียนการบิน และมีแผนกโรงเรียน เป็นหน่วยขึ้นตรงกับกรมเสนาธิการทหารอากาศ แบ่งกิจการ และกำหนดหน้าที่แผนกโรงเรียน ดังนี้
กองศึกษาที่ ๑ มีหน้าที่อบรมนายทหารสัญญาบัตร ทุกจำพวก
กองศึกษาที่ ๒ มีหน้าที่อบรมนายทหารประทวน ทุกจำพวก
กองโรงเรียนจ่าอากาศทหารราบ มีหน้าที่อบรมผู้บังคับหมู่ทหารราบ
ภารกิจของแผนกโรงเรียน เริ่มแรกได้คัดเลือกทหารกองประจำการตามกองบินต่างๆ เข้ารับการอบรมหลักสูตรเร่งรัดใน กองโรงเรียนจ่าอากาศทหารราบ เพื่อผลิตเป็นผู้บังคับหมู่สำหรับปกครองทหารกองประจำการ
ในปี พ.ศ.๒๔๘๓ เกิดกรณีพิพาทอินโดจีน กองทัพอากาศได้ประสบเหตุการณ์รบอย่างแท้จริง จึงเล็งเห็นความสำคัญในด้านการศึกษาว่า "ทหารจำเป็นต้องมีความรู้ในหลักวิชาเพื่อสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง กองทัพอากาศจึงจะมีประสิทธิภาพด้านการรบ หากจะใช้แต่ความกล้าหาญและความชำนาญการรบ ย่อมไม่เป็นการเพียงพอ และอาจก่อให้เกิดเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการปฏิบัติการรบได้จากแนวความคิดในด้านการศึกษาดังกล่าว กองทัพอากาศ ได้เริ่มดำเนินการเพื่อวางรากฐานโครงการศึกษาของกองทัพอากาศขึ้น ได้ปรับปรุงและกำหนดอัตราตามลำดับ
ในปี พ .ศ.๒๔๙๑ กำหนดให้ใช้อัตรากองทัพอากาศ พ.ศ.๒๔๙๑ ตามคำสั่งกระทรวง กลาโหม (พิเศษ) ที่ ๔๙/๑๙๑๒๗ "แผนกโรงเรียน" เปลี่ยนฐานะเป็น "กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ" ขึ้นตรงต่อกองทัพอากาศ เริ่มบริหารงานตามอัตราใหม่ ตั้งแต่ ๗ มกราคม ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นวันเปิดประชุมสภากองทัพอากาศครั้งแรก ได้มีการรวมแผนกโรงเรียนต่างๆ ของกองทัพอากาศ เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ดังนี้
โรงเรียนฝึกการช่างอากาศ ของกองโรงงานกรมทหารอากาศ
โรงเรียนสื่อสาร ของแผนกสื่อสาร กรมเสนาธิการทหารอากาศ
กองโรงเรียนจ่าอากาศทหารราบ
และได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นใหม่ เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ คือ
กองโรงเรียนการอาวุธ กองโรงเรียนถ่ายรูป โรงเรียนการบิน กองโรงเรียนพลาธิการ
กองโรงเรียนจ่าอากาศพยาบาล โรงเรียนนายทหารนักบิน โรงเรียนการช่วยรบ
ในปี พ.ศ.๒๔๙๕ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ มีภารกิจต้องรับผิดชอบการศึกษาของกองทัพอากาศทั้งหมด ได้รับโอนโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศจากกรมเสนาธิการทหารอากาศ จัดตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศขึ้น กองโรงเรียนจ่าอากาศเหล่าต่างๆ ได้รวมกันเป็น"กองโรงเรียนจ่าอากาศ" ขึ้นตรงต่อกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ เมื่อ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๙๕ ตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม (พิเศษ) ที่ ๑๒/๒๐๐๙ ลง ๒๘ มกราคม ๒๔๙๖
ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ กำหนดให้ใช้อัตรากองทัพอากาศ พ.ศ.๒๔๙๘ ตามคำสั่งกระทรวง กลาโหม(พิเศษ) ที่ ๑๔/๓๙๖๓ แก้ไขคำว่า "กองโรงเรียนจ่าอากาศเหล่าต่างๆ" เป็น "โรงเรียนเหล่าต่างๆ" ตัดคำว่า "กอง" ออก ขึ้นตรงกับ "กองโรงเรียนจ่าอากาศ" และคงมีหน่วยขึ้นตรงใหม่คือโรงเรียนเหล่าต่างๆ (ช่างอากาศ อากาศโยธิน การอาวุธ สื่อสารพลาธิการ ถ่ายรูป จ่าอากาศพยาบาล) กองบริการ กองการศึกษา และกองการปกครอง
ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ กำหนดให้ใช้อัตรากองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๐๖ ตามคำสั่ง ทอ. (เฉพาะ) ที่ ๙/๐๖ ลง ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ ตั้งแต่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๐๖ เป็นต้นไป โดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตามคำสั่ง กห. (เฉพาะ) ที่ ๕๒/๑๖๘๘๗ ลง ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๖ กำหนดให้เปลี่ยนชื่อ "โรงเรียนเหล่าต่างๆ" เป็น "แผนกวิชาการ..." ขึ้นตรงกับกองการศึกษาและคงมีหน่วยขึ้นตรงต่อกองโรงเรียนจ่าอากาศ รวม ๓ หน่วยคือ กองบริการ กองนักเรียน และ กองการศึกษา
ในปี พ.ศ.๒๕๑๐ กำหนดให้เปลี่ยนชื่อ กองโรงเรียนจ่าอากาศ เป็น โรงเรียนจ่าอากาศเปลี่ยนชื่อ "แผนกวิชาการ..." เป็น "แผนกวิชา..." ตามคำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๗/๑๐ และทางราชการได้มีการปรับเปลี่ยนเพิ่ม หน่วยงานต่างๆ ในโรงเรียนจ่าอากาศโดยตลอด ในปี พ.ศ.๒๕๒๑, ๒๕๒๓, ๒๕๒๔, ๒๕๒๖ และ ๒๕๓๐ ตามลำดับ ดังนี้
พ.ศ.๒๕๒๑-๒๕๒๓ รับผู้จบการศึกษา ม.ศ.๓ หรือเทียบเท่า ศึกษาหลักสูตร ๑ ปี และ ๒ ปี ตามที่สายวิทยาการกำหนด และรับผู้จบการศึกษา ม.ศ.๕ เรียนหลักสูตรพยาบาลชาย ระยะเวลาที่ศึกษา ๓ ปี
พ.ศ.๒๕๒๔ รับผู้จบการศึกษา ม.ศ.๓, ม.๓ หรือเทียบเท่า ศึกษาหลักสูตรต่างๆ๑๓ เหล่าทหาร ระยะเวลาศึกษา ๒ ปี ยกเว้นหลักสูตรพยาบาลชาย ระยะเวลาศึกษา ๓ ปี
พ.ศ.๒๕๒๕ งดรับ นจอ.
พ.ศ.๒๕๒๖ รับผู้จบการศึกษา ม.ศ.๕ หรือเทียบเท่า จำนวน ๑๓ เหล่าทหาร ระยะเวลาศึกษา ๑ ปี
พ.ศ.๒๕๒๗ รับผู้จบการศึกษา ม.ศ.๕ หรือ ม.๖ หรือเทียบเท่า จำนวน ๑๓ เหล่าทหาร ระยะเวลาศึกษา ๑ ปี
พ.ศ.๒๕๒๘-๒๕๓๓ รับผู้จบการศึกษา ม.๖ หรือเทียบเท่า ระยะเวลาศึกษา ๑ ปี
พ.ศ.๒๕๓๔-๒๕๓๘ รับผู้จบการศึกษา ม.๖ หรือเทียบเท่า ระยะเวลาศึกษา ๒ ปี
พ.ศ.๒๕๓๙ กำหนดให้ใช้อัตรากองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๓๙ ตามคำสั่ง ทอ. (เฉพาะ) ที่ ๑๗๑/๓๙ ลง ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ ตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๙ เป็นต้นไป โดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตามคำสั่ง กห.(เฉพาะ) ลับ ที่ ๑๐๒/๓๙ ลง ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๙ มีหน่วยขึ้นตรงรวม ๗ หน่วย คือ กองบังคับการแผนกการเงินกองบริการ กองการศึกษากองการฝึกกองนักเรียน และโรงเรียนนายทหารประทวน และ ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ รร.จอ.ฯ ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตร นจอ.พ.ศ.๒๕๓๖ เป็น ๒ หลักสูตร คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ (ระดับต้น) รับผู้จบการศึกษา ม.๖ หรือเทียบเท่า (เฉพาะแผนการเรียนวิทย์-คณิต) เข้าศึกษา ๒ ปี (เหล่าทหารแพทย์) ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ (ระดับต้น) ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยให้การรับรอง และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ รร.จอ. พ.ศ.๒๕๓๙ รับผู้จบการศึกษา ม.๓ หรือเทียบเท่า เข้าศึกษา ๓ ปี ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ รร.จอ. มีกรมอาชีวศึกษาให้การรับรอง
พ.ศ.๒๕๔๕ กำหนดให้ใช้หลักสูตรเพื่อการฝึกศึกษาของนักเรียนจ่าอากาศตามคำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๑๖๔/๔๕ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๖ เป็นต้นไป เป็นหลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศพุทธศักราช ๒๕๔๕ มี ๒ หลักสูตร คือ หลักสูตร ๑ ปี (เหล่า กง.,ขส.,ชย.,ถร.,พด.,พธ.,สบ.,สห.,อย.,อต.) และหลักสูตร ๒ ปี (เหล่า ชอ.,ตห.,สพ.,ส.) รับผู้จบการศึกษา ปวช.หรือชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่าทั้ง ๒ หลักสูตร ถ้าสำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรโรงเรียนจ่าอากาศ
พ.ศ.๒๕๔๘ กำหนดให้ใช้หลักสูตรเพื่อการฝึกศึกษาของนักเรียนจ่าอากาศ ตามคำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๕๗ /๔๘ ลง ๒๑ เมษายน ๒๕๔๘ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๘ เป็นต้นไป มีด้วยกัน ๒ หลักสูตร คือหลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ พุทธศักราช ๒๕๔๘ รับผู้จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ (ม.๖) ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า เข้าศึกษา ๒ ปี (เหล่า สห.,อย.) เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรโรงเรียนจ่าอากาศ และเทียบความรู้ได้เท่าประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ พุทธศักราช ๒๕๔๘ รับผู้จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ (ม.๓) ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า เข้าศึกษา ๓ ปี(เหล่า ชอ.,สพ.,ส.) เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพโรงเรียนจ่าอากาศ และเทียบความรู้ได้เท่าประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทั้ง ๒ หลักสูตรนี้ ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.๒๕๕๐ กำหนดให้ใช้หลักสูตรเพื่อการฝึกศึกษาของนักเรียนจ่าอากาศตามคำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๑๑๕/๕๐ ลง ๒๗ กันยายน ๒๕๕๐ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
เป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาการศึกษา ๒ ปี ของเหล่าทหารต้นหนและเหล่าทหารอุตุ รับผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) แผนการเรียนวิทย์-คณิตเมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรโรงเรียนจ่าอากาศและเทียบความรู้ได้เท่าประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ซึ่งสำนักงานคระกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) ให้การรับรองคุณวุฒิ
vพ.ศ.๒๕๕๓ กำหนดให้ใช้หลักสูตรเพื่อการศึกษาของนักเรียนจ่าอากาศตามคำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๔๗/๕๓ ลง ๖ กันยายน ๒๕๕๓ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป คือหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ระดับต้น พ.ศ.๒๕๕๓ มีระยะเวลาศึกษา ๒ ปี รับผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) แผนการเรียนวิทย์-คณิต เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษา ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ระดับต้น ซึ่งวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ เป็นหน่วยที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาภาควิชาการ และหลักสูตรดังกล่าวได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล เมื่อ ๒ เมษายน ๒๕๕๓ ผู้สำเร็จการศึกษามีสิทธิ์สมัครสอบเพื่อขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้
พ.ศ.๒๕๕๗ กำหนดให้ใช้หลักสูตรเพื่อการฝึกศึกษาของนักเรียนจ่าอากาศตามคำสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๒๙/๕๗ ลง ๒๖ กันยายน ๒๕๕๗ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๘ เป็นต้นไป เป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาการศึกษา ๒ ปี โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ (ม.๖) ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า (เหล่า ชอ., ส., สพ., อย., และ สห.) และรับจากผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ แผนการเรียนวิทย์-คณิต (เหล่า ตห. และ อต.) ตามหลักสูตรเมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรโรงเรียนจ่าอากาศ และเทียบความรู้ได้เท่าประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ให้การรับรองคุณวุฒิ
พระประจำโรงเรียนจ่าอากาศ : หลวงพ่อมงคลนิมิต
สัญลักษณ์ โรงเรียนจ่าอากาศ
โรงเรียนจ่าอากาศ มีธงประจำโรงเรียนจ่าอากาศอยู่ โดยเดิมเป็นสีเทา มีตราโรงเรียนจ่าอากาศอยู่ตรงกลาง แตในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นพื้นสีเขียวขลิบด้วยสีแสด มีตราโรงเรียนจ่าอากาศอยู่ตรงกลาง
สีประจำโรงเรียนจ่าอากาศจะมีอยู่ 2 สี ดังนี้
สีเขียว หมายถึง วันสถาปนาเป็นโรงเรียนจ่าอากาศ ซึ่งตรงกับวันพุธที่ 24 ธันวาคม 2495 (วันพุธ แทนด้วย สีเขียว) สีแสด หมายถึง หน่วยการศึกษา ซึ่งจำเป็นจะต้องมีครูเป็นผู้ถ่ายทอดและประสาทวิชาให้แก่ผู้เข้ารับการศึกษา (วันครู ตรงกับวัน พฤหัสบดี แทนด้วยสีแสด)15.ตราสัญลักษณ์ โรงเรียนจ่าอากาศ
ตราสัญลักษณ์ โรงเรียนจ่าอากาศ จะเป็นรูปอาร์มมีเส้นขอบเป็นสีน้ำเงินเข้ม พื้นของอาร์มสีฟ้าอ่อน ภายในอาร์มมีรูปวงกลมสีน้ำเงินภายในวงกลมมีช่อชัยพฤกษ์สีทอง เหนือช่อชัยพฤกษ์ และมีรูปดาวสีทองทับอยู่บนวงกลม 3 วงสีขาว ค่อนมาทางปลายคบเพลิง ซ้ายขวามีรูปปีกสีทอง ใต้วงกลมมีแถบสีเหลืองเส้นขอบสีน้ำเงิน ทั้งยังมีตัวอักษรสีดำเขียนคำว่า “โรงเรียนจ่าอากาศ” อยู่ตรงกลาง โดยมีความหมายของภาพและสี ดังนี้
รูปอาร์ม ปฏิบัติตามระเบียบ ทอ.ว่าด้วยสัญลักษณ์หน่วย พ.ศ.2541 พื้นสีฟ้าอ่อน หมายถึง กองทัพอากาศ (ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธง พ.ศ.2522) วงกลมพื้นสีน้ำเงิน หมายถึง ความเป็นทหารอากาศ ปีกและช่อชัยพฤกษ์สีทอง หมายถึง เครื่องหมายราชการกองทัพอากาศ ดาวสีทอง หมายถึง สถานศึกษาหน่วยหนึ่งของ ยศ.ทอ. คบเพลิงสีทอง หมายถึง การศึกษาทำให้เกิดปัญญาเปรียบเสมือนแสงสว่าง วงกลมสีขาว หมายถึง การศึกษาที่ไม่หยุดนิ่ง แถบสีเหลืองมีข้อความ “โรงเรียนจ่าอากาศ” แสดงชื่อหน่วย
โรงเรียนเตรียมทหาร
https://youtu.be/hO8Do-RAvGs?si=Wldb-k9H8nWwU6ka
|
|
ชื่อย่อ | รร.ตท.สปท. / AFAPS.RTARF |
---|---|
คติพจน์ | สามัคคี มีความรู้ คู่คุณธรรม |
ประเภท | สถาบันการศึกษาทางทหาร |
สถาปนา | 27 มกราคม พ.ศ. 2501 |
สังกัดการศึกษา | สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย |
ผู้บัญชาการ | พลตรี ชาตรี จันทร์พิทักษ์ |
ที่ตั้ง |
เลขที่ 9 หมู่ 10 ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก 26110
|
สี | สีแดง-น้ำเงิน-ฟ้า-เลือดหมู |
เว็บไซต์ | www.afaps.ac.th |
โรงเรียนเตรียมทหาร (อังกฤษ: Armed Forces Academies Preparatory School) เป็นสถาบันการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย และเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร เรียกว่า นักเรียนเตรียมทหาร (นตท.)
การรับสมัครบุคคลพลเรือนเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารนั้น โรงเรียนเตรียมทหารมิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารด้วยตนเอง หากแต่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก โดยในแต่ละปีจะมีการกำหนดจำนวนรับนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จากนั้นแต่ละเหล่าทัพจะส่งผู้ผ่านการสอบคัดเลือกมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนเตรียมทหาร เป็นเวลา 2 ปี
ภายหลังจากที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว นักเรียนเตรียมทหารเหล่านี้จะเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเหล่าทัพ (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ) ตามที่นักเรียนได้สมัครและผ่านการสอบคัดเลือก
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเหล่าทัพแล้ว นักเรียนนายร้อยเหล่านี้ จะได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นนายทหาร และนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร พร้อมทั้งเข้ารับพระราชทานกระบี่จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เสด็จแทนพระองค์
ประวัติ
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 จอมพลถนอม กิตติขจร ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เสนอดำริต่อสภากลาโหมว่า หากจะรวมโรงเรียนที่อยู่ในระดับการศึกษาเดียวกันจากกองทัพต่าง ๆ เป็นสถาบันเดียวกันก็จะเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติ ทั้งยังทำให้ผู้ศึกษามีโอกาสได้รู้จักคุ้นเคย มีความสนิทสนมกลมเกลียว มีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีความคิดจิตใจร่วมกันแต่เยาว์วัย ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลเหล่านี้สามารถประสานงานกันได้ด้วยดีและปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ สภากลาโหมได้เห็นชอบในดำรินี้เป็นเอกฉันท์ ในขั้นแรกให้รวมโรงเรียนเตรียมนายร้อย โรงเรียนเตรียมนายเรือ และโรงเรียนเตรียมนายเรืออากาศ เป็นโรงเรียนเตรียมทหาร สังกัดกรมการศึกษาวิจัย กองบัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2501 จึงถือว่าวันที่ 27 มกราคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนเตรียมทหาร ผู้บัญชาการคนแรกคือ พลเอก ปิยะ สุวรรณพิมพ์
ในปี พ.ศ. 2506 กรมตำรวจ ได้ขอให้โรงเรียนเตรียมทหารรับนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยตำรวจด้วย โรงเรียนเตรียมทหารจึงเป็นศูนย์รวมเบื้องต้นสำหรับนายทหาร นายตำรวจ โดยสมบูรณ์ ในระยะแรกนั้นโรงเรียนเตรียมทหารยังไม่มีที่ตั้งถาวร ได้ใช้อาคารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว
ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2504 โรงเรียนเตรียมทหารได้จัดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างโรงเรียนเตรียมทหารขึ้น ณ เลขที่ 1875 ถนนพระราม 4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของกองสัญญาณทหารเรือ มีพื้นที่ประมาณ 35 ไร่ 3 งาน 47 ตารางวา หลังจากได้สร้างโรงเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ย้ายมาอยู่ที่ถนนพระราม 4 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ปีเดียวกันนี้
ในปี พ.ศ. 2522 กองพันทหารสื่อสาร กองบัญชาการกองทัพบก และกองร้อยทหารสื่อสารซ่อมบำรุงเขตหลัง กองบัญชาการกองทัพบก ได้ย้ายออกจากพื้นที่ที่อยู่ต่อเนื่องกัน โรงเรียนเตรียมทหารจึงได้รับพื้นที่ทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือเพิ่มอีก 91 ไร่ 62 ตารางวา รวมเป็น 127 ไร่ 9 ตารางวา
ในปี พ.ศ. 2537 พลอากาศเอก วรนาถ อภิจารี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้พิจารณาว่า สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของโรงเรียนเตรียมทหารได้เปลี่ยนแปลงไป พื้นที่โดยรอบกลายเป็นย่านชุมชนหนาแน่น ทั้งยังมีสภาพแวดล้อมเป็นมลพิษ อีกทั้งพื้นที่ของโรงเรียนเตรียมทหารมีข้อจำกัดต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตนักเรียนเตรียมทหารและการพัฒนาโรงเรียนเตรียมทหารด้านต่างๆ ในอนาคต จึงได้ปรึกษากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหาร ถึงการย้ายที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหารไปยังสถานที่ตั้งแห่งใหม่ที่เหมาะสม ซึ่งได้รับการสนับสนุนการก่อสร้างจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยได้มอบให้บริษัท คริสเตียนนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ต่าง ๆ ของโครงการย้ายโรงเรียนเตรียมทหาร รวมทั้งเสนอแนะพื้นที่ตั้งโครงการ ในที่สุดได้เลือกพื้นที่ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เป็นที่ตั้งโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่ ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพบกเจ้าของพื้นที่มอบพื้นที่ให้ดำเนินการประมาณ 2,460 ไร่ เป็นผลให้โครงการก่อสร้างโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่เกิดขึ้น
โครงการก่อสร้างโรงเรียนเตรียมทหารแห่งใหม่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2539 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2541
ต่อมากองบัญชาการทหารสูงสุดได้มีคำสั่งให้เคลื่อนย้ายโรงเรียนเตรียมทหารมายังที่ตั้งแห่งใหม่ ณ เลขที่ 185 หมู่ 5 ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก กำหนดระยะเวลา ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 และให้สามารถเปิดการศึกษาได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยมีพิธีเคลื่อนย้ายโรงเรียนเตรียมทหารเข้าสู่ที่ตั้งในวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543
วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2543 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดโรงเรียน
ส่วนพื้นที่เตรียมโรงเรียนทหารเดิม ต่อมาก็ได้กลายเป็นสวนลุมไนท์บาซ่า และปัจจุบันกำลังก่อสร้างโครงการแบงค็อก
เครื่องหมายจักรดาว
คบเพลิง | หมายถึง | การศึกษา และความรุ่งโรจน์ |
จักรเวียนซ้าย | หมายถึง | เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพเรือ |
ดาวห้าแฉก | หมายถึง | เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพอากาศ |
ช่อชัยพฤกษ์ | หมายถึง | เครื่องหมายชั้นยศนายพลของกองทัพบกและตำรวจ |
สีประจำโรงเรียน
สีแดง คือ เหล่าทหารบก
สีน้ำเงิน คือ เหล่าทหารเรือ
สีฟ้า คือ เหล่าทหารอากาศ
สีเลือดหมู คือ เหล่าตำรวจ
รายนามผู้บัญชาการ
รายนามผู้บัญชาการ | |||
ลำดับ | นาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | พลตรี ปิยะ สุวรรณพิมพ์ | 27 มกราคม พ.ศ. 2501 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 | |
2 | พลตรี ชิงชัย รัชตะนาวิน | 13 มกราคม พ.ศ. 2515 - 30 กันยายน พ.ศ. 2520 | |
3 | พลตรี ไพบูลย์ สิรยากร | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 - 30 กันยายน พ.ศ. 2523 | |
4 | พลตรี สนั่น ขยันระงับพาล | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 - 30 กันยายน พ.ศ. 2525 | |
5 | พลตรี โกมล เกษรสุคนธ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2525 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2527 | |
6 | พลตรี นิยม ศันสนาคม | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2527 - 30 กันยายน พ.ศ. 2528 | |
7 | พลตรี ธีรวัฒน์ เอมะสุวรรณ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2528 - 30 กันยายน พ.ศ. 2531 | |
8 | พลตรี ชัยณรงค์ หนุนภักดี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 - 30 กันยายน พ.ศ. 2532 | |
9 | พลตรี พนม จีนะวิจารณะ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - 30 กันยายน พ.ศ. 2534 | |
10 | พลตรี มนัส คล้ายมณี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 - 30 กันยายน พ.ศ. 2536 | |
11 | พลตรี ปรีชา สามลฤกษ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 - 30 กันยายน พ.ศ. 2538 | |
12 | พลตรี ประพาฬ นิลวงศ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 - 30 กันยายน พ.ศ. 2541 | |
13 | พลตรี สุเทพ โพธิ์สุวรรณ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 30 กันยายน พ.ศ. 2544 | |
14 | พลตรี ธีระศักดิ์ ฤทธิวงศ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547 | |
15 | พลตรี พอพล มณีรินทร์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
16 | พลตรี พรพิพัฒน์ เบญญศรี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2552 | |
17 | พลตรี รักบุญ มนต์สัตตา | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 - 30 กันยายน พ.ศ. 2554 | |
18 | พลตรี สุรสิทธิ์ ถาวร | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555 | |
19 | พลตรี บุญชู เกิดโชค | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 | |
20 | พลตรี ชัยชนะ นาคเกิด | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557 | |
21 | พลตรี ชนินทร์ โตเลี้ยง | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
22 | พลตรี ศิราวุฒิ วงศ์ขันตี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - 30 กันยายน พ.ศ. 2560 | |
23 | พลตรี กนกพงษ์ จันทร์นวล | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - 30 กันยายน พ.ศ. 2563 | |
24 | พลตรี รวิศ รัชตะวรรณ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 - 30 กันยายน พ.ศ. 2564 | |
25 | พลตรี โกญจนาท ธูปเทียนรัตน์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
26 | พลตรี ชาตรี จันทร์พิทักษ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |
หมายเหตุ ยศ ทหารเป็นยศ ในขณะนี้จะเป็นไปตามประกาศสํานักวิทยาการ
"ทางไปสู่เกียรติศักดิ์ จักประดับดอกไม้ หอมยวลชวนจิตไซร้ ไป่มี"
"ทางไปสู่เกียรติศักดิ์ จักประดับดอกไม้
หอมยวลชวนจิตไซร้ บ่มีฯ"
พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตีพิมพ์ครั้งแรกใน "ดุสิตสมิต" เล่ม ๔ ฉบับที่ ๔๒ วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๒
ทรงแปลโคลงสุภาษิตนี้จากภาษิตของฝรั่งเศสชื่อ ลาฟองเตน ที่ว่า "Aucum chemin de fleurs ne conduit a' la gloire" ไว้ดังนี้
(โคลง ๓ ดั้ง)
"ทางไปสู่เกียรติศักดิ์ จักประดับดอกไม้
หอมยวลชวนจิตไซร้ บ่มีฯ"
และทรงพระราชนิพนธ์ขยายความพระราชนิพนธ์สุภาษิตนั้นไว้ ดังนี้
(โคลงสินธุมาลี)
นี้เปนภาษิตซึ่ง นักปราชญ์
ฝรั่งเศสผู้ฉลาด กล่าวไว้
เพื่อเตือนจิตชนชาติ ฝรั่งเศส
เราก็ควรพิศให้ ถ่องตาม
อันความงามงดทั้ง ชื่อเสียง
ปรากฏเป็นอย่างเยี่ยง หายาก
ผู้ใดคิดแต่เพียง ความสดวก ตนเอง
หาชื่อได้ลำบาก ยากเข็ญ
มัวเห็นแก่การหลีก อุปสัค
ใดยากฤาก็มัก หู่หด
คอยดูเยี่ยงเขาจัก ทำอย่าง ไรกัน
โอกาศก็ย่อมหมด แน่พลัน
ฉนั้นใครอยากได้ ชึ้นชื่อ ฦาฮา
ต้องบากบั่นลงมือ ทำกิจ
จะพบอุปสัคฤา ยากเท่า ใดใด
บ่มิยอมให้จิต ถดถอย
คอยเตือนตนให้ยิ่ง วิริยะ
ทุกเมื่ออุสาหะ ยอมยาก
พยายามบ่ลดละ แม้เหนื่อย ก็ดี
ทนระกำลำบาก เพื่อดี
ดังนี้ยามสำเร็จ ปรารถนา
กอบกิจได้เป็นสา ระแล้ว
ขึ้นชื่อและฦาชา สมที่ เพียรแล
จิตก็จักผ่องแผ้ว สุดเกษมฯ
Page 7 of 7