การเตรียมตัวของผู้สมัคร ๑. ผู้สมัครต้องอ่านระเบียบการทั่วไป และวิธีสมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ตลอดจนคำชี้แจงต่าง ๆ ให้เข้าใจ และชัดเจนโดยตลอด ๒. เตรียมหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการสมัคร ตรวจดูให้มีความถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์และความสะดวก รวดเร็วในการสมัคร ของผู้สมัครเอง ๓. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของร่างกาย ต้องมีขนาดพิกัดและไม่เป็นโรค หรือความพิการอื่นที่ขัดต่อการสมัครเข้าเป็น นักเรียนเตรียมทหาร ๔. จดจำกำหนดเวลา และสถานที่ของการรับสมัครที่จะประกาศให้ทราบก่อนการรับสมัคร ๕. การแต่งกายในการไปสมัครรวมทั้งการที่จะเข้าสอบ ตลอดจนการไปติดต่อต่าง ๆ ต้องให้สุภาพเรียบร้อย ๖. ในวันสมัครจะต้องไปสมัครด้วยตนเองยังไม่จำเป็นต้องนำผู้ปกครอง หรือผู้รับรองไปด้วย |
กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๗๔ (พ.ศ.๒๕๔๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๑ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) | กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๖ (พ.ศ.๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ |
(๒) | กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๙ (พ.ศ.๒๕๒๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ |
ข้อ ๒ โรคหรือสภาพร่างกาย หรือสภาพจิตใจ ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ตาม มาตรา ๔๑ คือ
(๑) | โรคหรือความผิดปกติของตา |
(ก) | ตาข้างหนึ่งข้างใดบอด คือเมื่อรักษา และแก้สายตาด้วยแว่นแล้ว การมองเห็น ยังอยู่ในระดับ ต่ำกว่า ๓/๖๐ หรือ ลานสายตาโดยเฉลี่ย แคบกว่า ๑๐ องศา |
(ข) | สายตาไม่ปกติ คือเมื่อรักษา และแก้สายตาด้วยแว่นแล้ว การมองเห็น ยังอยู่ในระดับ ๖/๒๔ หรือต่ำกว่า ทั้งสองข้าง |
(ค) | สายตาสั้นมากกว่า ๘ ไดออปเดอร์ หรือสายตายาวมากกว่า ๕ ไดออปเดอร์ทั้งสองข้าง |
(ง) | ต้อแก้วตาทั้งสองข้าง (Bilateral Cataract) |
(จ) | ต้อหิน (Glaucoma) |
(ฉ) | โรคขั้วประสาทตาเสื่อมทั้ง ๒ ข้าง (Optic Atrophy) |
(ช) | กระจกตาอักเสบเรื้อรังหรือขุ่นทั้งสองข้าง |
(๒) | โรคหรือความผิดปกติของหู |
(ก) | หูหนวกทั้งสองข้าง คือต้องใช้เสียงในช่วงคลื่นความถี่ ๕๐๐ - ๒,๐๐๐ รอบ ต่อวินาทีหรือมากกว่า ๕๕ เดซิเบล จึงจะได้ยินทั้งสองข้าง |
(ข) | หูชั้นกลางอักเสบ เรื้อรังทั้งสองข้าง |
(ค) | เยื่อแก้วหูทะลุ ทั้งสองข้าง |
(๓) | โรคของหัวใจและหลอดเลือด |
(ก) | หัวใจหรือหลอดเลือดพิการ อย่างถาวร จนอาจอันตรายร้ายแรง |
(ข) | ลิ้นหัวใจพิการ |
(ค) | การเต้นของหัวใจผิดปกติ อย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรง |
(ง) | โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ ชนิดที่ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และ อาจเป็นอันตราย |
(จ) | หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง |
(ฉ) | หลอดเลือดภายในกระโหลกศีรษะ โป่งพอง หรือผิดปกติ ชนิดที่อาจเป็นอันตราย |
(๔) | โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด |
(ก) | โรคเลือด หรือ อวัยวะสร้างเลือด ผิดปกติ อย่างถาวร และอาจเป็นอันตราย |
(ข) | ภาวะม้านโต (Hyperspleenism) ที่รักษาไม่หาย และ อาจเป็นอันตราย |
(๕) | โรคของระบบหายใจ |
(ก) | โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Diseases) |
(ข) | โรคหลอดลมพอง (Brrooonchiectasis) |
(ค) | โรคหืด (Asthma) |
(ง) | โรคของระบบหายใจ ที่ทำให้สมรรถภาพปอด ลดลง อย่างถาวรจน Forced Expiratory Volume in One Second ต่ำกว่า ๒ ลิตร หรือ Forced Vital Capacity ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ของค่าปกติ |
(๖) | โรคของระบบทางเดินปัสสาวะ |
(ก) | ไตอักเสบ เรื้อรัง |
(ข) | กลุ่มอาการไตพิการ (Nephritic Syndrome) |
(ค) | ไตวาย เรื้อรัง |
(ง) | ไตพองเป็นถุงน้ำ แต่กำเนิด (Polycystic Kidney) |
(๗) | โรคหรือความผิดปกติ ของกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ |
(ก) | ข้ออักเสบเรื้อรัง จนกระดูกเปลี่ยนรูป |
(ข) | แขน ขา มือ เท้า นิ้ว อย่างใดอย่างหนึ่ง ผิดปกติ ดังต่อไปนี้ |
๑. | แขน ขา มือ หรือเท้า ด้วน หรือพิการ ถึงแม้ว่าจะรักษา ด้วยวิธีใหม่ที่สุด แล้วก็ยังใช้การไม่ได้ |
๒. | นิ้วหัวแม่มือด้วน จนถึงข้อปลายนิ้ว หรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้ |
๓. | นิ้วชี้ของมือด้วน ตั้งแต่ข้อปลายนิ้ว |
๔. | นิ้วมือในมือข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วน จนถึงข้อปลายนิ้ว หรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้ |
๕. | นิ้วหัวแม่เท้าด้วน จนถึงข้อปลายนิ้ว หรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้ |
๖. | นิ้วเท้าในเท้าข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วน จนถึงข้อปลายนิ้ว หรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้ |
๗. | นิ้วเท้าในเท้าแต่ละข้างตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วน จนถึงข้อปลายนิ้ว หรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้ |
๘. | นิ้วเท้าในเท้าข้างใดข้างหนึ่งตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วน จนถึงข้อโคนนิ้ว หรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้ |
(ค) | คอเอียงหรือแข็งทื่อ ชนิดถาวร |
(ง) | กระดูกสันหลังโก่ง หรือคดหรือแอ่น จนเห็นได้ชัด หรือแข็งทื่อ ชนิดถาวร |
(จ) | กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบหรือหดสั้น (Atrophy or Contractuure) จนเป็นผลให้ อวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใด ใช้การไม่ได้ |
(๘) | โรคของต่อมไร้ท่อ และภาวะผิดปกติ ของเมตะบอลิสัม |
(ก) | ภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยไป อย่างถาวร |
(ข) | ภาวะต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานน้อย ไปอย่างถาวร |
(ค) | ภาวะต่อมใต้สมองผิดปกติ อย่างถาวร |
(ง) | เบาหวาน |
(จ) | ภาวะอ้วน (Obesity) ซึ่งมีค่าดัชนี ความหนาของร่างกาย (Body MassIndex) ตั้งแต่ ๓๕ กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป |
(ฉ) | โรคหรือความผิดปกติ เกี่ยวกับ เมตะบอลิสัม ของแร่ธาตุ สารอาหาร ดุลยสาร น้ำ อีเล็กโทรลัย และกรดด่าง ตลอดจน เมตะบอลิสัมอื่น ๆ ชนิดถาวร และอาจเป็นอันตราย |
(๙) | โรคติดเชื้อ |
(ก) | โรคเรื้อน |
(ข) | โรคเท้าช้าง |
(ค) | โรคติดเชื้อเรื้อรัง ระยะแสดงอาการรุนแรง ซึ่งไม่สามารถรักษา ให้หายขาดได้ |
(๑๐) | โรคทางประสาทวิทยา |
(ก) | จิตเจริญล่าช้า (Mental Retardation) ที่มีระดับเชาว์ปัญญา ๖๙ หรือต่ำกว่านั้น |
(ข) | ใบ้ (Mutism) หรือพูดไม่เป็นภาษา หรือฟังภาษาไม่รู้เรื่อง (Aphasia) ชนิดถาวร |
(ค) | ลมชัก (Epilepsy) หรือโรคที่ทำให้มีอาการชัก (Seizures) อย่างถาวร |
(ง) | อัมพาต (Paralysis) ของ แขน ขา มือ หรือเท้าชนิดถาวร |
(จ) | สมองเสื่อม (Dementia) |
(ฉ) | โรคหรือความผิดปกติ ของสมอง หรือไขสันหลัง ที่ทำให้เกิด ความผิดปกติ อย่างมาก ในการเคลื่อนไหว ของแขนหรือขา อย่างถาวร |
(ช) | กล้ามเนื้อหมดกำลังอย่างหนัก (Myasthenia Gravis) |
(๑๑) | โรคทางจิตเวช |
(ก) | โรคจิต หรือโรคที่ทำให้จิต ผิดปกติ อย่างรุนแรง และถาวร |
(๑๒) | โรคอื่น ๆ |
(ก) | กระเทย (Hermaphrodism) |
(ข) | มะเร็ง (Malignant Neoplasm) |
(ค) | โรคตับอักเสบเรื้อรัง ชนิดร้ายแรง (Chronic Active Hepatitis) |
(ง) | ตับแข็ง (Cirrhosis of Liver) |
(จ) | คนเผือก (Albino) |
(ฉ) | โรคลูปัสอิธิมาโตซัส ทั่วร่างกาย (Systemic Lupus Erythematosus) |
(ช) | กายแข็ง ทั่วร่างกาย (Systemic Sclerosis) |
(ซ) | รูปวิปริตต่าง ๆ ได้แก่ |
๑. | จมูกโหว่ |
๒. | เพดานโหว่หรือสูง หรือลิ้นไก่สั้น พูดไม่ชัด |
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
(ลงชื่อ) พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
(ชวลิต ยงใจยุทธ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(ลงชื่อ) เสนาะ เทียนทอง
(นายเสนาะ เทียนทอง)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ:-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๖ (พ.ศ.๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน การกำหนดความพิการทุพพลภาพ หรือโรค ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้จึงยังไม่สอดคล้องกับสภาพของความพิการทุพพลภาพ หรือ โรคที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อให้การกำหนดความพิการทุพพลภาพ หรือโรคเป็นไปอย่างถูกต้องและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงการกำหนดความพิการทุพพลภาพ หรือโรค ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้เสียใหม่ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ (กฎกระทรวง ฯ นี้ ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๘ ก ลง ๓ มิ.ย.๔๐ หน้า ๑๑)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ โรงเรียนเตรียมทหาร http://www.afaps.ac.th
ประวัติคทา
คทาจอมพล
ตำนานคทาในสมัยดึกดำบรรพ์
คทาจอมพลของประเทศฝรั่งเศส
คทาจอมพลของกองทัพอังกฤษ
คทาจอมพลของกองทัพเยอรมัน
คทาจอมพลของกองทัพไทย
คทาจอมพลประเภทที่ ๑ เป็นคทาเครื่องต้นของพระมหากษัตริย์ มี ๕ องค์
องค์ที่ ๑
พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถือพระคทาจอมพลที่กองทัพบกได้สร้างทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๖ |
พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงถือพระคทาจอมพลองค์ที่ ๑ (ที่กองทัพบกได้สร้างทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๖) ตลอดรัชการ |
พระคทาจอมพลองค์ที่ ๑ |
องค์ที่ ๒
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถือพระคทาที่กองทัพบกสร้างทูลเกล้าฯ ถวาย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๓ (จาก A Half Century among the Siamese adn Lao) |
พระคทาจอมพลองค์ที่ ๒ |
องค์ที่ ๓
พระคทาจอมพลองค์ที่ ๓ |
องค์ที่ ๔
พระคทาจอมทัพภูมิพล |
องค์ที่ ๕
พระคทาจอมทัพไทย |
คทาประเภทที่ ๒ เป็นพระคทาสำหรับพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งดำรงพระยศจอมพล หรือพลเอก (อัตราจอมพล)
พระคทาจอมพล ที่เคยพระราชทานแด่ พระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งดำรงพระยศจอมพล |
องค์ที่ ๑ จอมพล สมเด็จพระราชบิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้รับพระราชทานเมื่อ ๑๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ เมื่อทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม และจเรทหาร
องค์ที่ ๒ จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ได้รับพระราชทาน เมื่อ ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔ เมื่อทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
องค์ที่ ๓ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พุทธศักราช ๒๔๖๐ เมื่อทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก
องค์ที่ ๔ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้รับพระราชทานเมื่อ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๖๓ เมื่อทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก
ลักษณะคทา แกนกลางเป็นรูปทรงกระบอกกลวง ทำด้วยทองคำขัดเกลี้ยง แต่ที่ตัวพระครุฑพ่าห์กับลายดอกที่ฐานของพระครุฑพ่าห์ และที่หัวเม็ดตอนท้ายได้ลงยาสีต่างๆ งดงามเป็นพิเศษ
สร้างด้วยทองคำหนักราว ๔๐ บาท แกนกลางของกระบอกซึ่งข้างในกลวงยาว ๒๒.๔ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๕ เซนติเมตร ตอนยอดที่เป็นตัวพระครุฑพ่าห์ทองคำลงยาสูง ๘.๕ เซนติเมตร ตอนท้ายทำเป็นหัวเม็ดทองคำลงยา สูง ๘.๕ เซนติเมตร ตอนท้ายทำเป็นหัวเม็ดทองคำลงยาสูง ๔ เซนติเมตร (เปิดไม่ได้) มีจารึกพระนามจอมพลที่ได้รับพระราชทาน
|
พระคทาจอมพล ที่พระราชทานแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ |
จอมพลหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยกองทัพไทยจัดสร้างถวาย เนื่องในวโรกาสได้รับพระราชทานพระยศเป็นจอมพลหญิง จอมพลเรือหญิง จอมพลอากาศหญิง พระองค์แรกของชาติไทยและของโลกเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ และวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคมพุทธศักราช ๒๕๔๐ ทรงเป็นสตรีที่ได้รับพระราชทานเป็นพรองค์แรกของประเทศไทย ด้วยทรงมีพระปรีชาสามารถล้ำ ทรงเป็นคู่บารมีช่วยเหลือพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในทุกด้าน ทั้งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อกองทัพอย่างอเนกอนันต์
ลักษณะคทาจอมพลเป็นรูปทรงกระบอกกลวง ตรงกลางป่องเล็กน้อยและคอดเรียวไปทางด้านยอด ด้านปลาย มีความยาว ๓๕ เซนติเมตร จัดสร้างด้วยทองคำบริสุทธิ์หนัก ๓๕ บาท ส่วนที่กว้างที่สุดตรงกึ่งกลางมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓.๕ เซนติเมตร ยอดของพระคทาเป็นรูปพระครุฑพ่าห์ลงยา ตามแบบพระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ส่วนยอดของพระครุฑพ่าห์ประกอบด้วยเพชรเจียระไนตรงกลางพระคทาเป็นพระนามาภิไธย “ส.ก.” อยู่ใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ด้านใต้พระนามาภิไธย จารึกพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยวันเดือนปีที่ได้รับพระราชทานพระยศเป็นจอมพล มีเครื่องหมายกองบัญชาการทหารสูงสุด ลักษณะนูนต่ำเป็นทองเรียบมันอยู่ด้านล่าง ด้านตรงข้ามกับพระนามาภิไธย “ส.ก.” เพื่อแสดงว่ากองบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดสร้างขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย ด้ามพระคทาประกอบด้วยนพรัตน์จำนาน ๙ เม็ด หนักประมาณ ๑ กระรัตต่อเม็ด ซึ่งแสดงให้ทราบว่าได้จัดสร้างขึ้นในรัชสมัยรัชการที่ ๙ โดยใช้เพชรเจียระไนจำนวน ๑๕๙ เม็ด หนักประมาณ ๑๐ สตางค์ต่อเม็ด ทับทิม มรกต และไพลิน จำนวน ๙๐ เม็ด หนักประมาณ ๑๐ สตางค์ต่อเม็ด ใช้เวลาจัดสร้างน้อยมากพียง ๕๔ วันเท่านั้น แต่มีความงดงามเหมาะสมกับพระอิสริยยศอย่างยิ่ง
จอมพลหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ |
พระคทาจอมพล ทูลเกล้าฯ ถวาย พลเอกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร |
พลเอกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร |
คทาจอมพลประเภทที่ ๓ เป็นคทาสำหรับจอมพลทั่วไป
จอมพล เจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต (ม.ร.ว.อรุณฉัตรกุล) |
จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) |
จอมพล ผิน ชุณหะวัณ |
จอมพลอากาศ ฟื้น รณภากาศ ฤทธาคธานี |
จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล |
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ |
จอมพล ถนอม กิตติขจร |
จอมพล ประภาส จารุเสถียร |
ที่มา : หนังสือ คทาจอมพล โดย กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Page 6 of 7